About us

เกี่ยวกับโครงการ

PERSONALIZED LEARNING PLATFORM

โครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้รายบุคคลเชิงสมรรถนะด้วยปัญญาประดิษฐ์
เพื่อพัฒนาทักษะกำลังคนด้านอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต
 (New S-Curve)

20210217-about03-01
Rational Criterion

บทสรุปผู้บริหาร

ภายใต้ภูมิทัศน์แห่งดิจิทัล ที่มีเทคโนโลยีดิจิทัลโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนสร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ ในบริบทของเศรษฐกิจดิจิทัลของทุกภูมิภาค ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์และทิศทางการพัฒนาประเทศ โดยพิจารณานโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๗๐ ที่มีวิสัยทัศน์เพื่อ “เตรียมคนไทยแห่งศตวรรษที่ ๒๑ พัฒนาเศรษฐกิจที่ กระจายโอกาสอย่างทั่วถึง สังคมที่มั่นคง และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยสร้างความเข้มแข็งทางนวัตกรรมระดับ แนวหน้าในสากล นำพาประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว” ในแพลตฟอร์มการพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ของกระทรวงจะพบว่า มุ่งเน้นการพัฒนา ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต (P.3)
โจทย์สำคัญประการหนึ่งของการพัฒนากำลังคนในยุคดิจิทัลก็คือ แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมสอดคล้องกับการรูปแบบการเรียนรู้เชิงปัจเจก (Personalized Learning) ของคนในยุคดิจิทัลด้วยเช่นกัน นอกจากนั้น แพลตฟอร์มการเรียนรู้ดังกล่าวจะต้องมีความยั่งยืนสามารถตอบสนองต่อการเรียนรู้ของกลุ่มผู้เรียนจำนวนมากได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์
ด้วยเหตุนี้ โครงการวิจัยนี้จึงมีเป้าประสงค์หลักของการพัฒนากำลังคน ประกอบด้วย 1) เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้รายบุคคลเชิงสมรรถนะด้วยปัญญาประดิษฐ์ 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้รายบุคคลเชิงสมรรถนะด้วยปัญญาประดิษฐ์สำหรับพัฒนาทักษะกำลังคนด้านอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต (New S-Curve) 3) เพื่อพัฒนาและยกระดับทักษะอาชีพ (Upskill / Reskill) ให้กำลังคนด้านอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต (New S-Curve) และพร้อมทั้งจัดอบรมออนไลน์บนแพลตฟอร์มการเรียนรู้รายบุคคลเชิงสมรรถนะด้วยปัญญาประดิษฐ์

หลักการและเหตุผล

ในสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าบุคลากรของประเทศยังมีจำนวนไม่เพียงพอที่จะรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต (New S-Curve) ได้แก่ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ผลจากการสำรวจอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต (New S-Curve) พบว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า อุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต (New S-Curve) จะมีความต้องการบุคคลากร ดังนี้

  1. บุคลากรในอนาคตของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ คาดการณ์ว่ามีความต้องการอยู่ที่ประมาณ 9,836 ตำแหน่ง

  2. บุคลากรในอนาคตของอุตสาหกรรมดิจิทัลในภาพรวมทั้งหมดคาดการณ์ว่ามีความต้องการ อยู่ที่ประมาณ 34,505 ตำแหน่ง

  3. บุคลากรในอนาคตของอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ในภาพรวมทั้งหมดคาดการณ์ว่ามีความต้องการอยู่ที่ประมาณ 29,735 ตำแหน่ง

  4. บุคลากรในอนาคตของอุตสาหกรรมการแพทย์ครบในภาพรวมทั้งหมดคาดการณ์ว่ามีความต้องการอยู่ที่ประมาณ 20,153 ตำแหน่ง

  5. บุคลากรในอนาคตของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในภาพรวมทั้งหมดคาดการณ์ว่ามีความต้องการอยู่ที่ประมาณ 12,816 ตำแหน่ง

        ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ตระหนักถึงความจำเป็นของการเตรียมความพร้อมด้านกำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการศึกษาซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทักษะ ความรู้ และความเซี่ยวชาญและผลิตบุคลากรให้ตรงตามความต้องการของประเทศและสอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต เพื่อรองรับความต้องการบุคลากรของพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อย่างมีประสิทธิภาพ และผลักดันให้ประเทศไทยก้าวข้ามประเทศกับดักรายได้ปานกลาง โดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษกิจไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมผ่านการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรมที่เป็น New Growth Engine ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

Objectives

วัตถุประสงค์ของโครงการ

ข้อที่ 1

เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม การเรียนรายบุคคล
เชิงสมรรถนะด้วยปัญญาประดิษฐ์

ข้อที่ 2

เพื่อพัฒนาหลักสูตรและ สื่อการเรียนรายบุคคล
เชิงสมรรถนะด้วยปัญญาประดิษฐ์ สำหรับพัฒนาทักษะกำลังคน ด้านอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต (Now S-Cuve)

ข้อที่ 3

เพื่อพัฒนาและยกระดับทักษะอาชีพ (Upskill/Reskill)
ให้กำลังคนด้านอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในอนาคต (New s-Cuve) และพร้อมทั้ง จัดอบรมออนไลน์บนแพลตฟอร์ม การเรียนรู้รายบุคคล
เชิงสมรรถนะด้วยปัญญาประดิษฐ์

ด้านระบบจัดการ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
(Competency-Base Personalized Learning Platform)

Training/Online Course
Activity Course for Upskill & Reskill
  • VDO Streaming Platform Activity (NDI Protocal)
  • Two Way Learning Activity (Webx)
  • Face Detection Activity
Examples/Quiz/Test
Course Progress/Total Score/Evaluation Score
Competency-Base/Learning Plan
Personalized Learning & Analysis with Al
Report & Course analysis
  • Student Behavier
  • Student Progression
  • Examination

ด้านการพัฒนาสื่อตาม
สมรรถนะวิชาชีพ
(Competency-Base Personalized Learning)

Systems Tool. Support Activity Couress VDO
Streaming Platform  (NDI Protocal)
ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรชุดบทเรียนออนไลน์และ
ระบบคลังข้อสอบออนไลน์สำหรับอุดสาหกรรม
เป้าหมายในอนาคต  (Now S-Curve)

ด้านการนำไปใช้ทดสอบและเก็บข้อมูลกับ
กลุ่มผู้เรียนด้านอุตสาหกรรมเป้าหมาย
ในอนาคต (New S-Curve)

กลุ่มเป้าหมาย

  • อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ และเคมีชีวภาพ
  • อุตสาหกรรมดิจิทัล
  • อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
  • อุตสาหกรรมการแพทย์
  • อุตสาหกรรมหุ่นยนต์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  แพลตฟอร์มการเรียนรู้รายบุคคลเชิงสมรรถนะด้วยปัญญาประดิษฐ์เพื่อพัฒนาทักษะกำลังคนด้านอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต (New S-Curve) จำนวน 1 แพลตฟอร์ม ประกอบด้วย
     1.1  แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์
     1.2   ระบบศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้เรียนออนไลน์โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อนำผลการวิเคราะห์ไปออกแบบบทเรียนและกิจกรรมที่ตอบสนองผู้เรียนรายบุคคล
     1.3  ระบบวิเคราะห์สมรรถนะรายบุคคล เพื่อพัฒนาทักษะกำลังคนด้านอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต (New S-Curve)
2. เครื่องมือต้นแบบสำหรับผลิตบทเรียนออนไลน์ที่สามารถทำงานเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มการเรียนรู้รายบุคคลเชิงสมรรถนะด้วยปัญญาประดิษฐ์เพื่อพัฒนาทักษะกำลังคนด้านอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต (New S-Curve) จำนวน 1 ชุด
3. ขั้นตอนกระบวนการมาตรฐานการผลิตบทเรียนออนไลน์แบบรวดเร็ว จำนวน 1 ชุด
4. หลักสูตรสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต (New S-Curve) จำนวน 5 หลักสูตร
5. บทเรียนออนไลน์และคลังข้อสอบออนไลน์ต้นแบบตามหลักสูตรสำหรับใช้อบรมกำลังคนด้านอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต (New S-Curve) จำนวน 5 ชุด
6. ทดสอบและเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างด้านอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต
(New S-Curve